จากที่ได้ฟังเพื่อนๆเล่าประสบการณ์
*สิ่งที่ได้จากแอน ชฎาภรณ์ คือความอดทน
ความขยันของเพื่อนที่ได้ไปทำงาน ได้ทั้งประสบการณ์ ความรู้
มิตรภาพทำให้เราคิดได้ว่ากว่าพ่อแม่ของเราจะได้เงินมาสักบาทความเหน็ดเหนื่อยของพ่อแม่เป็นอย่งไร
ทำให้เห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น
*สิ่งที่ได้จากเฟิน นภัสสร คือ ความอดทนในการทำงานครั้งแรกและการล้างถ้วยไอศกรีมด้วยเครื่องว่าเป็นอย่างไร *สิ่งที่ได้จาก นิเชตคือเหตุการณ์บ้านเมืองของ3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าทำไมถึงต้องฆ่าฟันกัน ส่วนสิ่งที่ได้จาก มอส จตุพล
ก็คือประสบการณ์การทำงานว่าแรกๆกับหลังๆมันต่างกันอย่างไรคนเราเมื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดยังไม่ได้ตามเป้าหมายก็ต้องรู้จักฝึกตนเอง
หาประสบการณ์ใหม่ๆแล้วนำไปแก้ไข ปรับปรุง
สรุปความรู้ทั้งหมดจากที่ได้ฟังเพื่อนๆเล่าประสบการณ์ คือความอดทน ประสบการณ์ใหม่ๆที่ได้จากการทำ
ความรู้(Knowledge)
-ความรู้คือพลังที่อยู่ในตัวของทุกคนไม่สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้
ผู้ใดมีความรู้ก็มีพลังมากสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องและทำงานสำเร็จได้โดยง่าย
-ความรู้เป็นทรัพย์สินจับต้องไม่ได้
-ความรู้ที่มีคุณค่าคือความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้งานหรือใช้ประโยชน์ในเวลาและโอกาสที่เหมาะสม
-ความรู้ของผู้ด้อยพัฒนาคือ
การมองเห็นใบปริญญาหรือใบรับรองความรู้มาประดับบารมี
-ความรู้จะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวทุกคนอยู่ที่ว่าใครจะรู้จักนำเก็บมาใช้หรือไม่
การจัดการความรู้(Knowledge Management)
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อน
ในการที่จะนำความรู้ที่มีอยู่มาสร้าง ขยายผล แบ่งปัน จัดเก็บและใช้ให้เกิดประโยชน์
-การจัดการความรู้
อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีการวางแผนหรือขั้นตอนที่เป็นระบบมาก่อน
-การจัดการความรู้ที่ดีไม่มีสูตรตายตัว
KM=การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จากภาพจะเป็นการแชร์ความรู้ระหว่างความรู้ของเรากับความรู้ของเพื่อน
ทำให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่คือการที่เราได้รับความรู้ใหม่ๆจากที่เพื่อนแชร์มาและเพื่อนก็ได้รับความรู้ใหม่ๆที่เราแชร์ให้
ความเป็นมาของการจัดการความรู้
*Ikujiro Nonaka เป็นผู้บุกเบิกให้การจัดการความรู้ให้เป็นที่รู้จักอีกทั้งยังสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้และยังได้สร้างแบบจำลองขึ้นมา
คือ SECI Model
วิวัฒนาการของการจัดการความรู้
-Pre-SECI-ค.ศ.1978 เป็นยุคของการเริ่มต้นในการจัดการความรู้เป็นระบบที่มีโครงสร้างตายตัว
-SECI-1995
ยุคนี้ได้จำแนกความรู้ออกเป็น2ประเภท คือ Explicit
Knowledge
และ Tacit Knowledge
-Post-SECI-2001
จะอธิบายให้รู้ว่าความรู้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเพราะความรู้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
ประเภทของความรู้
-Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ปรากฏและมองเห็นได้ชัดเจน
-Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งอาจจะซ่อนเร้นอยู่ในสมองในตัวคนไม่สามารถเผยแพร่ออกมาเป็นคำพูดได้
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201403/24/60947cd27.jpg
จากภาพเป็นความรู้ที่อยู่ในสมองอยู่ในตัวเราแต่เราไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้ให้เพื่อนฟังได้
การเปลี่ยนแปลงสถานะของความรู้
SECI MODEL
Socialization
เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคน
Externalization
การเผยแพร่
Combination
บันทึกจากสิ่งที่พูดคุยและเป็นกระบวนการที่ทำให้ความรู้สามารถจับต้องได้
Internalization
นำมาจัดให้เป็นระบบ
ความรู้เป็นของใคร
1.ความรู้ของบุคคล
2.ความรู้ขององค์กร
3.ความรู้ของประเทศ
Know-what เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร
Know-how รู้ว่ามันคืออะไรทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งความรู้
Know-why ทำไปเพื่ออะไร
Care-why ทำไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง
กระบวนการพัฒนาความรู้
กระบวนการพัฒนาความรู้
จากภาพข้างต้น
Data
Facts ข้อมูล
Information
Meaningful Data สารสนเทศ
Knowledge
Organised Information เอาสารสนเทศมาคิด วิเคราะห์ เป็นองค์ความรู้
Wisdom Applied Knowledge ทำให้เกิดปัญญา
Enlightenment
Clarity perception ทำให้เกิดแสงสว่าง
ที่มา:วิทยากรประจำวิชา
รองศาสตราจารย์ ดร.อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความหมายของความรู้
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง
การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์
ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน
ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ประเภทของความรู้
แนวคิดในการแบ่งประเภทความรู้ที่น่าสนใจและ
ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นของMichel Polanyi
และ Ikujiro
Nonaka โดยเป็นแนวคิดที่แบ่งความรู้ออกเป็น
2 ประเภท คือ
ความรู้ทั่วไปหรือความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ
เช่น
การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรทฤษฎี คู่มือต่างๆและ
บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมการจัดการความรู้เด่นชัด
จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ตรวจสอบและตีความได้เมื่อนำไปใช้แล้ว
เกิดความรู้ใหม่ก็นำมาสรุปไว้เพื่อใช้อ้างอิงหรือ
ให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป
ความรู้เฉพาะตัว หรือ
ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จาก
ประสบการณ์พรสวรรค์หรือ
สัญชาตญาณ ของแต่ละบุคคลใน การทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ
เป็น ความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอด ออกมาเป็นคำพูดหรือ
ลายลักษณ์อักษรได้โดยง่ายเช่น
ทักษะในการทำงานงานฝีมือการจัดการความรู้ซ่อนเร้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการ
แบ่งปันความรู้ที่ อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติทำให้เกิดการเรียน
รู้ร่วมกันอันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ใน
การปฏิบัติงานได้ต่อไป
ซึ่งความรู้ 2 ประเภทนี้จะ
เปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และ
บางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น
Tacit จากความรู้ทั้ง
2 ประเภทสัดส่วนของความรู้ในองค์กรจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นความรู้
แบบฝังลึกมากกว่า ความรู้แบบชัดแจ้ง สัดส่วนได้ประมาณ 80:20 ซึ่งเปรียบเทียบ ได้กับ
ภูเขาน้ำแข็งส่วนที่ พ้นเหนือน้ำ
สามารถมองเห็น ชัดเจนเปรียบ
ได้กับความรู้แบบชัดแจ้งซึ่งเป็นส่วนน้อย
มากเมื่อเทียบกับส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เปรียบได้กับ
ความรู้ฝังลึก
ความหมายของ KM
นพ.วิจารณ์ พานิช
ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ
การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4
ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2)
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ
ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
โดย นพ.วิจารณ์ พานิช
โมเดลการจัดการความรู้
โมเดลเซกิ (SECI Model) [8] # ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995)
คือ
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit
Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ
เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร
เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน
(Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก
เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization)
S : Tacit to Tacit
กระบวนการที่ 1
อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit
knowledge) ด้วยกัน
เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง
ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่
แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization)
E:Tacit to Explicit
กระบวนการที่ 2
อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit
knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์
เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก
อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย
ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน
เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination)
C : Explicit to Explicit
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit
knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ
และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่
ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร
แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่
แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization)
I : Explicit to Tacit
กระบวนการที่ 4
อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge)
สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล
ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ
ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร
ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Knowledge
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น