วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กรอบแนวคิดการศึกษา

วิกส์( 1993 ) แบ่งความรู้เป็น Credte ( สร้าง ) Manitest ( นำเสนอ ) Use ( ใช้งาน ) Tanster ( ถ่ายทอด )
กระบวนการ
1.กระบวนการแบ่งประเภทความรู้   2.วิเคราะห์องค์ความรู้และกิจกรรม
3.เตรียมนำเสนอ                         4.การประเมินความรู้ กิจกรรม
5.เผยแพร่ นำไปใช้

พรอบสท์ ( Probst ) รอบ ( Raub ) และฮาร์ด ( Pomlnavdt,2000 )
1.กำหนดความรู้ที่ต้องการ               2.การจัดการความรู้
3.สร้างและพัฒนาความรู้ใหม่         4.การแบ่งปันและการขยายความรู้
5.การใช้ความรู้                           6.จัดเก็บความรู้
เทอร์แบน ( Tuban ) และ เฟรนเซล ( Frencel )1992
1.สร้างองค์ความรู้                     2.จัดเก็บความรู้
3.นำเสนอ                                4.เผยแพร่ความรู้
5.ใช้งาน                                    6.ประเมินความรู้

โนนากะ และ ทาเคชิ ( 1995 )
Taoit knowledge ความรู้ที่ซ้อนเร้น       Explicit knowledge ความรู้ที่เปิดเผย
ไลนอวิช และ เบคแมน  ได้เสนอกรอบแนวคิดในการจัดการความรู้ ดังนี้
1.Idenlification การกำหนดสิ่งที่อยากรู้      2.Capture การแสวงหาความรู้
3.Select คัดแยกความรู้                         4.Store จัดเก็บความรู้
5.Shane แบ่งปันแลกเปลี่ยน                  6.Apply นำไปประยุกต์ใช้
7.Create การเกิดองค์ความรู้
โอเดล เกรย์ซัน และ เอสเดส ( 1998 )
1.การกำหนดสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องทำให้สำเร็จ
2.ปัจจัยที่ทำให้องค์กรสามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
3.กระบวนการเปลี่ยนแปลง
การกำหนดสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำให้สำเร็จ
1.วางแผน                        2.ออกแบบ
3.ปฏิบัติ                          4.ขยายผล

โมเดลปลาทู ถูกคิดค้นโดย ประพนธ์ ผาสุกยืด
ส่วนหัว-ส่วนตัว = มองว่าจะไปทางไหน
ส่วนหาง = คลังความรู้
ส่วนกลาง = ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ความรู้ที่ได้จากเพื่อนนำเสนอ

สถานศึกษาเจาะลึกผลวิจัยดีเด่น
                เป็นการประชุมครั้งที่ 15 เพื่อนำเสนอเผยแพร่ยกย่องงานวิจัย มีงานงานวิจัยทั้งหมด 339 เรื่อง ลักษณ์ส่วนใหญ่นำไปสู่การแก้ปัญหา
                ลักษณะงานวิจัย คือ 1.งานวิจัยการพัฒนานวัตกรรม 2.รูปแบบและการจัดการศึกษาแก่ทายาทรุ่นที่สอง
3.ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถานบัน
พัฒนาครูทั้งระบบ
                ครูเอกชนมี 100,000 คน ครูรัฐบาลมี 600,000 คน (ข้อมูลปลายปี 2557)
ครูส่วนใหญ่จะบันจุราชการอยู่ในตัวเมือง ทำให้นอกเมืองมีครูน้อย ไม่เพียงพอต่อนักเรียน ทำให้ขาดแคลนครูผู้สอน และอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณ 180,000 คน
สถานภาพการศึกษา ชู 4 ข้อเสนอทำอย่างไรให้ นร. มีคะแนน PISA สูงขึ้น
           PISA มีโครงการประเมินเด็กนานาชาติ จัดประเมินความพร้อมที่มีให้กับเด็ก
สาเหตุ 1.ไม่รักการอ่าน
           2.ไม่คุ้นเคยข้อสอบเขียนตอบ
           3.คุณภาพของโรงเรียน
           4.คุณภาพการสอนของครู
สื่อสารอย่างไรให้ปลอดภัย
ในโลกไอที มีองค์ประกอบสำคัญคือ คน,ข่าว
คน = แยกเป็น ผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร
ข่าว = สื่อสารกับผู้อื่น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สถาบันอุดมศึกษา                                      - สภาคณบดี
- สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา                         - สภาคณบดี
- สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์                        - สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน
- สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี    - สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการ

บทเรียนสำหรับการปฏิบัติรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 9
                การปฏิรูปมีมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 ครั้งที่ 2 ของการปฏิรูปคือ รัชกาลที่ 9 แนวทางการปฏิรูปเน้นระบบกระบวนการการประกอบอาชีพ การสอบไล่ การจัดตั้งโรงเรียน ได้นำทฤษฎีมาจากต่างประเทศเน้นทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น
ความก้าวหน้าของการประเมินผลด้านการศึกษานานาชาติ
                ประเทศได้เข้าร่วมประชุมความก้าวหน้าของการประเมินผลด้านการศึกษานานาชาติ 2 โครงการ ซึ่งนักเรียนต้องมีการทนทนสอบ 2 โมดุล TMISH เป็นการประเมินรอบที่ 6 ความเป็นพลเมืองระดับนานาชาติ
คำถามง่ายๆก่อนตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ และ เท็บแล็ต
การใช้งานแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.ใช้งานอยู่บ้าง        2.พกเป็นบางครั้ง       3.ใช้งานเป็นประจำ

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนๆ

วันจันทร์ ที่ 10 สิงหาคม 2558
จากที่ได้ฟังเพื่อนๆเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเน้นการทำงานในช่วงปิดเทอมเช่น *มายด์ : ประสบการณ์จากการหางานช่วงปิดเทอมซึ่งงานหาได้ยากมาก เมื่อได้งานมาก็เป็นงานที่เหนื่อยมาก ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เขาได้มาเรียนครูเพื่อหวังที่จะทำให้ตนเองและครอบครัวไม่ต้องลำบากได้สุขสบายในอนาคตข้างหน้า
           *มาเรียม ; ประสบการณ์การทำงานที่อบต.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งงานที่อบต. นั้นจะเป็นงานเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารในด้านต่างๆที่ทาง อบต. จัดเตรียมไว้ และงานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะช่วยดูแลเด็กเป็นครูพี่เลี้ยง
           *มุก  ประสบการณ์การขายรองเท้ามือสองที่สมุทรปราการซึ่งที่นั่นต้องนอนพักในเต็นท์จะมีอากาศร้อน รวมทั้งเรื่องที่ต้องขายรองเท้าให้กับคนต่างด้าวซึ่งฟังภาษาไม่ค่อยรู้เรื่อง
           *ละ ประสบการณ์การเป็นพี่เลี้ยงของค่ายพัฒนาศักยภาพ ซึ่งจะได้พบกับเพื่อนต่างโรงเรียนต่างมหาลัยมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันทำให้ได้มิตรภาพที่ดี
           *แอม ประสบการณ์การหางานทำบางที่ทำได้2วันบางที่ทำได้5-6วันเนื่องจากงานหนักมากแล้วทางผู้จัดการกดดันต้องใช้ความอดทนค่อนข้างสูง



วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ (Knowledge)

 

จากที่ได้ฟังเพื่อนๆเล่าประสบการณ์
*สิ่งที่ได้จากแอน ชฎาภรณ์ คือความอดทน ความขยันของเพื่อนที่ได้ไปทำงาน ได้ทั้งประสบการณ์ ความรู้ มิตรภาพทำให้เราคิดได้ว่ากว่าพ่อแม่ของเราจะได้เงินมาสักบาทความเหน็ดเหนื่อยของพ่อแม่เป็นอย่งไร ทำให้เห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น
*สิ่งที่ได้จากเฟิน นภัสสร คือ ความอดทนในการทำงานครั้งแรกและการล้างถ้วยไอศกรีมด้วยเครื่องว่าเป็นอย่างไร  *สิ่งที่ได้จาก นิเชตคือเหตุการณ์บ้านเมืองของ3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าทำไมถึงต้องฆ่าฟันกัน ส่วนสิ่งที่ได้จาก มอส จตุพล ก็คือประสบการณ์การทำงานว่าแรกๆกับหลังๆมันต่างกันอย่างไรคนเราเมื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดยังไม่ได้ตามเป้าหมายก็ต้องรู้จักฝึกตนเอง หาประสบการณ์ใหม่ๆแล้วนำไปแก้ไข ปรับปรุง
   สรุปความรู้ทั้งหมดจากที่ได้ฟังเพื่อนๆเล่าประสบการณ์  คือความอดทน ประสบการณ์ใหม่ๆที่ได้จากการทำ
                                  ความรู้(Knowledge)
-ความรู้คือพลังที่อยู่ในตัวของทุกคนไม่สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ ผู้ใดมีความรู้ก็มีพลังมากสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องและทำงานสำเร็จได้โดยง่าย
-ความรู้เป็นทรัพย์สินจับต้องไม่ได้
-ความรู้ที่มีคุณค่าคือความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้งานหรือใช้ประโยชน์ในเวลาและโอกาสที่เหมาะสม
-ความรู้ของผู้ด้อยพัฒนาคือ การมองเห็นใบปริญญาหรือใบรับรองความรู้มาประดับบารมี
-ความรู้จะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวทุกคนอยู่ที่ว่าใครจะรู้จักนำเก็บมาใช้หรือไม่
การจัดการความรู้(Knowledge  Management)
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อน ในการที่จะนำความรู้ที่มีอยู่มาสร้าง ขยายผล แบ่งปัน จัดเก็บและใช้ให้เกิดประโยชน์
-การจัดการความรู้ อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีการวางแผนหรือขั้นตอนที่เป็นระบบมาก่อน
-การจัดการความรู้ที่ดีไม่มีสูตรตายตัว
KM=การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

จากภาพจะเป็นการแชร์ความรู้ระหว่างความรู้ของเรากับความรู้ของเพื่อน ทำให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่คือการที่เราได้รับความรู้ใหม่ๆจากที่เพื่อนแชร์มาและเพื่อนก็ได้รับความรู้ใหม่ๆที่เราแชร์ให้

ความเป็นมาของการจัดการความรู้
*Ikujiro Nonaka เป็นผู้บุกเบิกให้การจัดการความรู้ให้เป็นที่รู้จักอีกทั้งยังสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้และยังได้สร้างแบบจำลองขึ้นมา คือ SECI Model
วิวัฒนาการของการจัดการความรู้
-Pre-SECI-ค.ศ.1978 เป็นยุคของการเริ่มต้นในการจัดการความรู้เป็นระบบที่มีโครงสร้างตายตัว
-SECI-1995 ยุคนี้ได้จำแนกความรู้ออกเป็น2ประเภท คือ Explicit Knowledge
และ Tacit Knowledge
-Post-SECI-2001 จะอธิบายให้รู้ว่าความรู้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเพราะความรู้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
ประเภทของความรู้
-Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ปรากฏและมองเห็นได้ชัดเจน
-Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งอาจจะซ่อนเร้นอยู่ในสมองในตัวคนไม่สามารถเผยแพร่ออกมาเป็นคำพูดได้

   

  ที่มา : http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201403/24/60947cd27.jpg

จากภาพเป็นความรู้ที่อยู่ในสมองอยู่ในตัวเราแต่เราไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้ให้เพื่อนฟังได้

การเปลี่ยนแปลงสถานะของความรู้ SECI MODEL
Socialization     เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคน
Externalization  การเผยแพร่
Combination     บันทึกจากสิ่งที่พูดคุยและเป็นกระบวนการที่ทำให้ความรู้สามารถจับต้องได้
Internalization   นำมาจัดให้เป็นระบบ
ความรู้เป็นของใคร
1.ความรู้ของบุคคล
2.ความรู้ขององค์กร
3.ความรู้ของประเทศ
ระดับของความรู้
(SECI  Model)
ที่มา : https://www.l3nr.org/posts/543739

Know-what  เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร
Know-how   รู้ว่ามันคืออะไรทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งความรู้
Know-why    ทำไปเพื่ออะไร
Care-why     ทำไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง

กระบวนการพัฒนาความรู้

จากภาพข้างต้น
Data  Facts    ข้อมูล
Information  Meaningful Data  สารสนเทศ
Knowledge  Organised Information  เอาสารสนเทศมาคิด วิเคราะห์ เป็นองค์ความรู้
Wisdom Applied Knowledge ทำให้เกิดปัญญา
Enlightenment  Clarity perception   ทำให้เกิดแสงสว่าง






ที่มา:วิทยากรประจำวิชา
รองศาสตราจารย์ ดร.อรจรีย์  ณ ตะกั่วทุ่ง 
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความหมายของความรู้
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
 ประเภทของความรู้
        แนวคิดในการแบ่งประเภทความรู้ที่น่าสนใจและ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นของMichel Polanyi  และ  Ikujiro
Nonaka โดยเป็นแนวคิดที่แบ่งความรู้ออกเป็น 2  ประเภท คือ
       ความรู้ทั่วไปหรือความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ
เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรทฤษฎี คู่มือต่างๆและ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมการจัดการความรู้เด่นชัด
จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ตรวจสอบและตีความได้เมื่อนำไปใช้แล้ว เกิดความรู้ใหม่ก็นำมาสรุปไว้เพื่อใช้อ้างอิงหรือ
ให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป
       ความรู้เฉพาะตัว หรือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จาก ประสบการณ์พรสวรรค์หรือ
สัญชาตญาณ  ของแต่ละบุคคลใน การทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็น ความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอด ออกมาเป็นคำพูดหรือ
ลายลักษณ์อักษรได้โดยง่ายเช่น ทักษะในการทำงานงานฝีมือการจัดการความรู้ซ่อนเร้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการ
แบ่งปันความรู้ที่  อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติทำให้เกิดการเรียน รู้ร่วมกันอันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ใน
การปฏิบัติงานได้ต่อไป
       ซึ่งความรู้ 2 ประเภทนี้จะ เปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit  ก็ออกมาเป็น  Explicit และ
บางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit จากความรู้ทั้ง  2  ประเภทสัดส่วนของความรู้ในองค์กรจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นความรู้
แบบฝังลึกมากกว่า  ความรู้แบบชัดแจ้ง สัดส่วนได้ประมาณ   80:20 ซึ่งเปรียบเทียบ ได้กับ ภูเขาน้ำแข็งส่วนที่ พ้นเหนือน้ำ
สามารถมองเห็น ชัดเจนเปรียบ ได้กับความรู้แบบชัดแจ้งซึ่งเป็นส่วนน้อย  มากเมื่อเทียบกับส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เปรียบได้กับ
ความรู้ฝังลึก
ความหมายของ KM
นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
 โดย นพ.วิจารณ์ พานิช
โมเดลการจัดการความรู้
โมเดลเซกิ (SECI Model) [8] # ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit
      กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E:Tacit to Explicit
      กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit
      กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
      กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Knowledge

         http://www.th.wikipedia.org/wiki/การจัดการความรู้
ที่มา:www.gotoknow.org